การเกิดฟ้าผ่า

 

         

 

 

ฟ้าผ่า ฟ้าแลบและฟ้าร้อง เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดจากการถ่ายเทประจุ ไฟฟ้าจำนวนมากระหว่างวัตถุที่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างพื้นโลกกับก้อนเฆม หรือระหว่างก้อนเฆมกับพื้นดิน เหมือนกับหลักการที่ว่าถ้าเอาวัตถุต่างชนิดมาถูกัน จะเกิดอำนาจของไฟฟ้าขึ้นในวัตถุทั้งสองนั้น

 

                                 

 

 

ลมซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของแก๊สชนิดต่าง ๆ
• เมื่อพัดด้วยความเร็วสูงจะทำให้เกิดการขัดสีกับผิวพื้นโลกและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จึงทำให้โมเลกุลของลมได้รับประจุลบ (อิเล็กตรอน)
• เมื่อลมได้รับอิเลคตรอน และไปถ่ายเทให้กับด้านล่างของก้อนเมฆ
• เมื่ออิเล็กตรอน รวมตัวกันที่ด้านล่างของก้อนเมฆมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขนาดหนึ่ง แรงผลักระหว่างอิเลคตรอนบนก้อนเมฆ จะผลักให้อิเลคตรอนที่ผิวโลกแยกตัวออกจากประจุบวก จนทำให้ผิวโลกมีประจุเป็นบวกเพิ่มมากขึ้น
• ประจุลบบนก้อนเมฆจะผลักกันเองและขณะเดียวกันจะถูกดูดโดยประจุบวกจากพื้นโลก จึงทำให้มีประจุลบเคลื่อนที่ลงสู่ผิวโลก เนื่องจากแรงผลักจากด้านบนและแรงดูดจาก ด้านล่าง

ซึ่งการที่ประจุเคลื่อนที่จากก้อนเมฆไปสู่ผิวโลกจะเรียกว่า ฟ้าผ่า

ถ้าประจุเคลื่อนที่จากก้อนเมฆไปยังก้อนเมฆเรียกว่า ฟ้าแลบ

ในขณะที่ประจุไฟฟ้าแหวกผ่านไปในอากาศด้วยอัตราเร็วสูงมันจะผลักดันให้อากาศ แยกออกจากกัน แล้วอากาศก็กลับเข้ามาแทนที่โดยฉับพลันทันที ทำให้เกิดเสียงดังลั่นขึ้น เราเรียกว่า ฟ้าร้อง

 

 

                                                  

 

 

ฟ้าแลบและฟ้าร้องในพายุเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่มนุษย์เรามองเห็นฟ้าแลบก่อน ต่อมาจึงได้ยินฟ้าร้องทั้งนี้ เพราะเหตุว่าแสงมีความเร็วมากกว่าเสียง แสงมีอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ส่วนเสียงมีอัตราเร็วประมาณ 1/3 กิโลเมตรต่อวินาทีเท่านั้น

เพราะเหตุนี้ เมื่อมีฟ้าแลบและฟ้าร้อง เราจึงได้เห็นฟ้าแลบหรือประกายไฟได้ทันที และได้ยินเสียงฟ้าร้องทีหลัง

ถ้าเราต้องการทราบว่าฟ้าแลบอยู่ห่างจากเราเท่าใดเราก็จับเวลาตั้งแต่เมื่อเราเห็น ฟ้าแลบจนถึงเมื่อเราได้ยินเสียงฟ้าร้องว่าเป็นจำนวนกี่วินาที แล้วเอาจำนวนวินาที คูณด้วย 1/3 ก็จะได้เป็นระยะกิโลเมตร เช่นเราจับเวลาระหว่างฟ้าแลบกับฟ้าร้องได้ 6 วินาที เราก็จะทราบได้ว่า ฟ้าแลบอยู่ห่างจากเราประมาณ 1/3 x 6 = 2 กิโลเมตร

ฟ้าผ่านั้นจะผ่าแต่สิ่งที่เป็นสื่อไฟฟ้า และอยู่สูงขึ้นไปในท้องฟ้ามากกว่าสิ่งอื่น ในบริเวณ ข้างเคียงเสมอเพราะไฟฟ้านั้นต้องเดินทางลัดระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน ถ้ามีสื่ออะไร อยู่สูงมันก็จะผ่านลงมาทางสื่อนั้นจึงมีข้อห้ามกันว่า อย่าเดินกลางทุ่งโล่งในขณะที่ ท้องฟ้าคะนอง อย่าถือโลหะออกอยู่กลางฝนขณะที่ฟ้าคะนองและอย่าอยู่ใต้ต้นไม้ที่สูงๆ ขณะที่ฟ้าคะนอง ฯลฯ เพราะจะทำให้ฟ้าผ่าได้

การป้องกันฟ้าผ่าอาคารสถานบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้าง ทำได้โดยเอาโลหะปลายแหลม ไปปักไว้ บนส่วนสูงที่สุดของสิ่งก่อสร้างนั้นแล้วต่อสื่อลงมาผูกกับแท่งทองแดงฝังลงไป ในดินให้ลึก ๆซึ่งจะเป็นทางเดินผ่านของกลุ่มอนุภาคไฟฟ้าจากอากาศ

บทความอ้างอิงจาก Kmutt Library

 

                                        Hot Line : 0-2949-7581-2