การป้องกันตัว และปฐมพยาบาลเมื่อฟ้าผ่า
ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจากฟ้าผ่าแล้ว 15 ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และไม่ใช่เพียงผู้ที่อยู่ในที่โล่งเท่านั้น แต่ผู้ที่อยู่ในที่ร่มก็ยังโดนฟ้าผ่าและเสียชีวิืตได้เช่นกัน ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า การเกิดฟ้าผ่ามากในช่วงนี้มีสาเหตุจากประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูฝน แต่ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีอากาศร้อนสูงมาก และมีความร้อนสะสมในอากาศเยอะ ดังนั้นเมื่อมีมวลอากาศเย็นมาปะทะจึงเกิดพายุฝนและฟ้าร้อง ฟ้าผ่ามากตามมา
สำหรับประชาชนทั่วไป ได้มีการแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันตัวเองตัวเองจากฟ้าผ่าไว้จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ซึ่งควรนำไปปฎิบัติกันในช่วงที่มีพายุฝนและฤดูฝนที่กำลังจะมานี้
การป้องกันตัวเบื้องต้นจากฟ้าผ่า
ห้ามหลบพายุบริเวณใต้ต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงและไม่ได้ยึดติดกับพื้นอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกล้มทับ เช่นเต็นท์ เสาไฟฟ้า ยุ้งข้าว เพิงสังกะสี ป้ายโฆษณา ป้ายรถประจำทางตู้โทรศัพท์ ร่มสนามเป็นต้น
หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมกลางแจ้งทุกประเภท
ไม่สวมใส่เครื่องประดับประเภท เงิน ทอง นาค ทองแดง
ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือหรือถือร่มที่มีปลายเป็นเหล็กแหลมในพื้นที่โล่ง แจ้งเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
ก่อนเกิดพายุฝน ให้ตรวจสอบบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ป้ายโฆษณาเสาไฟฟ้าและต้นไม้ใหญ่ให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพิ่มที่ค้ำยันประตู หน้าต่างหลังคาบ้านให้แน่นหนายึดติดสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงกับพื้นอย่างแน่นหนา
ขณะเกิดให้เข้าไปหลบในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคงแข็งแรง ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทเพื่อป้องกันสิ่งของปลิวเข้ามากระแทก เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง แม้จะอยู่ในร่ม ในบ้าน หรืออาคาร ก็ควรปิดและถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเพื่อเป็นการป้องกันฟ้าผ่าสายไฟเข้ามาในอาคาร เมื่ออยู่ในที่แจ้งและเห็นเมฆฝนกำลังมาให้สังเกตดังนี้ หากเห็นแนวฟ้าแลบว่าเป็นสายฟ้าแลบแนวตั้งก็แล้วว่าเมฆฝนและฟ้าแลบฟ้าผ่ากำลังตรงมาที่เราให้รีบหนีหรือหาที่หลบที่ปลอดภัย แต่ถ้าแนบสายฟ้าแลบเป็นแนวนอนแสดงว่าเมฆฝนกำลังพัดไปที่อื่น แต่ก็อย่างนิ่งนอนใจเพราะลมพายุสามารถเปลีย่นทิศทางได้เสมอ จึงต้องรีบออกให้ห่างและหาที่หลบให้ปลอดภัยเช่นกัน
การป้องกันตัว กรณีอยู่ในอาคาร
ปิดประตูและหน้าต่าง ห้องชั้นในปลอดภัยกว่าห้องที่มีทางออกภายนอก อาคารที่มีสายล่อฟ้าปลอดภัยกว่าอาคารที่ไม่มี
หลีกเลี่ยงจุดที่ไฟสามารถวิ่งเข้าถึงได้ผ่านทางสายไฟ สายอากาศ สายโทรศัพท์ และท่อน้ำ เช่น อ่างล้างหน้า ฝักบัว
ถอดสายไฟ สายอากาศ สายโทรศัพท์ สายโมเด็ม ก่อนเกิดฝนฟ้าคะนอง อย่างทำเมื่อเกิดแล้ว
อยู่ห่างจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถอดสาย
อย่าใช้โทรศัพท์จะทำให้กระแสไฟฟ้าวิ่งมาตามสายโทรศัพท์เข้าทำอันตรายผู้ใช้โทรศัพท์ได้โดยตรง
ท่านั่งลดอันตรายจากฟ้าผ่า (กรณีอยู่ที่โล่งแจ้ง) : นั่งยองๆ เท้าชิด มือปิดหู (เพื่อป้องกันเสียง) เขย่งปลายเท้า อย่างนอนราบ เพื่อลดความเสี่ยงกรณีกระแสไหลมาตามพื้น
กรณีอยู่ในรถเมื่อฟ้าผ่า
จอดรถ อย่าสัมผัสส่วนที่เป็นโลหะ (ให้นั่งกอดดอกหรือวางมือบนตัก) ปิดหน้าต่างทุกบาน อย่าจอดใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์แฮนด์ฟรี รถเปิดประทุนหรือรถที่หลังคาไม่ใช่โลหะไม่ปลอดภัย
วิธีปฐมพยาบาลผู้ถูกฟ้าผ่า
ก่อนอื่นให้สังเกตว่า ในบริเวณที่เกิดเหตุยังมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าหรือไม่ ถ้ามี ก็ต้องทำการเคลื่อนย้ายผู้ถูกฟ้าผ่าไปยังตำแหน่งที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันตัวเราเองจากการถูฟ้าผ่า
เราสามารถแตะต้องตัวผู้ถูกฟ้าผ่าได้ทันที เนื่องจากคนที่ถูกฟ้าผ่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหลงเหลืออยู่ในตัว ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวว่าเราจะถูกไฟฟ้าดูด (ต่างจากกรณีคนที่ถูกไฟฟ้าดูด)
การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกฟ้าผ่า จะใช้วิธีเดียวกับผู้ที่ถูกไฟฟ้าช๊อต หากผลได้รับบาดเจ็บหมดสติไม่รู้ตัว หัวใจหยุดเต้น และไม่หายใจ ซึ่งสังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้น คือ ริมผีปากเขียว สีหน้าซีดเขียวคล้ำ ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยมากหรือไม่เคลื่อนไหว ชีพจรบริเวณคอเต้นช้าและเบามาก ถ้าหัวใจหยุดเต้นจะคล้ำชีพจรไม่พบม่านตาขยายค้างไม่หดเล็กลง หมดสติไม่รู้สึกตัว ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลทันที เพื่อให้ปอดและหัวใจทำงาน โดยวิธีการผายปอดด้วยการให้ลมทางปาก หรือที่เรียกว่า “เป่าปาก” ร่วมกับนวดหัวใจ โดยวางมือตรงกึ่งกลางลิ้นปี่เล็กน้อย ถ้าทำการปฐมพยาบาลคนเดียวให้นวดหัวใจ 15 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง ถ้าทำการปฐมพยาบาลสองคน ให้นวดหัวใจ 5 ครั้งสลับกับการเป่าปาก 1 ครั้ง ก่อนนำผู้ป่วยส่งแพทย์ต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสภาวิศวกร
Hot Line : 0-2949-7581-2